ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอน สมัยสามัญ สมัยที่ 3 / 2565

**********************************************************

         ตามที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอน ได้มีมติกำหนดการประชุมสภาฯสมัยสามัญ สมัยที่ 3 / 2565 ประจำปี พ.ศ. 2565

ในระหว่างวันที่ 1 - 15 สิงหาคม 2565 และวนั้ย

         สภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอนขอเชิญร่วมประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล สมัยสามัญ สมัยที่ 3 / 2565 ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2565 ในวันพุธที่ 10 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอน ชั้น 3

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอนจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

************************************************************

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอนได้จัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่น้องๆเด็กนักเรียนระดับปฐมวัยเพื่อเป็นการปลูกฝังการเรียนรู้

- ภูมิปัญญาท้องถิ่น (local wisdom) หรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธีเป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการด าเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

- การจัดกระบวนการเรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ การเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อสารความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ ความคิดเห็น ตลอดจนเจตคติ ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี และอาจใช้เครื่องมือประกอบการสอนต่างๆ อีกมากมาย โดยมีการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีทั้งความรู้ คุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์และสามารถดาเนินชีวิตอยู่ใน สังคม ได้โดยปกติสุข จึงจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพ ความสามารถของ ผู้เรียนอย่างเต็มที่ เพื่อให้มีนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง การนำแหล่งเรียนรู้ใน ชุมชน ท้องถิ่น ตลอดจนวิทยากรท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ประโยชน์ในการจัดกระบวน การเรียนการสอน จึงเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะช่วยให้ กระบวนการเรียน การสอนบรรลุจุดมุ่งหมายได้ตามที่ต้องการ การนำภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้ มาใช้ใน หลักสูตรการเรียน เป็นกิจกรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ เป็นชุดความรู้ในชุมชนที่มีการใช้เพื่อการดาเนินวิถีชีวิตที่ได้ผลมาในอดีต สามารถดำรงความ สันติสุขแก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนความมีดุลยภาพอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่าง

- ลักษณะภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่ระบบโรงเรียน มี 3 ลักษณะ คือ 1. คน 2. แนวคิดชาวบ้าน 3. ผลงานชาวบ้าน

- ลักษณะของแหล่งเรียนรู้ จัดได้ 3 ประเภท คือ 1. แหล่งเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติ สวนพฤกษชาติ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล น้ำพุรอน ปรากฏการทางธรรมชาติ เช่น ฝนตก แดดออก น้ำท่วม ความแห้งแล้ง 2. แหล่งเรียนรู้ที่จัดขึ้นหรือสร้างขึ้น ซึ่งมีในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษา หาความรู้ได้สะดวกและรวดเร็ว 3. แหล่งเรียนรู้ที่เป็นทรัพยากรบุคคล ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง พ่อแม่ พระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพแขนงต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน รวมทั้งสถานที่ประกอบการ ร้านค้า หน่วยงาน หรือองค์กร ต่างๆ ในท้องถิ่น

- การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน สามารถดำเนินการได้ 2 วิธี คือ 1. การเชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน 2. การนำนักเรียนไปยังแหล่งเรียนรู้หรือสถานประกอบการของภูมิปัญญาท้องถิ่น

 - การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียน โรงเรียน ครูผู้สอนหรือผู้ที่รับผิดชอบ จะต้องศึกษาและจัดทำรายละเอียด ข้อมูลในการจัดทำ โดยมีขั้นตอนที่สำคัญ คือ 1. ศึกษาหลักสูตรแม่บทหรือหลักสูตรแกนกลาง 2. จัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่น

 - การนeแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีแนวทางดังนี้ 1. ศึกษาหลักสูตร และสาระการเรียนรู้ 2. จัดทาข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. จัดทำแผนการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ 4. ขอความร่วมมือกับชุมชนและตัววิทยากรท้องถิ่น 5. เชิญวิทยากรท้องถิ่นมาถ่ายทอดความรู้ หรือนานักเรียนไปยังแหล่งเรียนรู้ 6. ทำาการวัด ประเมินผล 7. รายงานผล สรุปผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ

 - ข้อดีในการนาแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน 1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากของจริง ทeให้เกิดประสบการณ์ตรง 2. ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน 3. ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อชุมชน และกระบวนการเรียนรู้ 4. ผู้เรียนเห็นคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. ผู้เรียนเกิดความรักท้องถิ่นและเกิดความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งที่มีคุณค่าในท้องถิ่น

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอน

อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ประชาสัมพันธ์แผ่นพับ เรื่อง โทษของบุหรี่

นายสุรชิต แก้วหะนาม

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอน

การบริหารงานการดำเนินงาน

แบบคำร้องขอรับบริการ

จำนวนผู้เข้าชม

1302475
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
308
1944
13218
1270428
53606
46144
1302475

Your IP: 3.138.114.38
2024-04-27 06:43